Wed, Apr 6, 2022 12:00 AM

คนไทยเริ่มรู้จักทอ “ผ้า” ครั้งแรกเมื่อไร ?

แม้เวลาจะผ่านมานานมากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถระบุหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนได้เลยว่า คนไทยเริ่มรู้จักการทอผ้าครั้งแรกเมื่อไร? 
ก่อนอื่นเราต้องปรบมือดังๆ ให้มนุษย์ยุคเก่าก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความฉลาดทั้งๆ ที่ยังไม่มีโรงเรียนให้ศึกษาอย่างแพร่หลายเหมือนกับเราในปัจจุบันนี้  แม้เวลาจะผ่านมานานมากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถระบุหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนได้เลยว่า คนไทยเริ่มรู้จักการทอผ้าครั้งแรกเมื่อไร? ทำได้เพียงการคาดเดาว่าเป็นศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์สมัยโบราณ ซึ่งยืนยันได้จากเข็มเย็บผ้าที่ทำจากกระดูกของสัตว์ ที่ค้นพบในบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และร่องรอยของเศษผ้าที่ติดอยู่กับโบราณวัตถุ ตลอดจนอุปกรณ์แกนปั่นด้ายจากดินเผา ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


เนื่องจากเสื้อผ้าถือว่าเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ หากค้นข้อมูลจะเห็นได้ว่าทั่วโลกมีการพัฒนาการทอผ้าอย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัย จนกลายมาเป็นอุตสาหกรรม ณ ปัจจุบันนี้ ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยเราเองก็ให้ความสำคัญเช่นกันเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้มีจัดตั้งโรงงานทอผ้าขึ้นเป็นแห่งแรกของไทย ซึ่งได้ให้ชื่อว่า “โรงงานฝ้ายสยาม” จัดตั้งโดยกระทรวงกลาโหม


ที่มา : https://www.bloggang.com

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอกลายเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของไทย และสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออก จนนำไปสู่การจ้างงานจำนวนมาก ไม่อยากจะคิดเลยว่าหากธุรกิจนี้ชะลอตัวลง จะเกิดความวุ่นวายเพียงใดในประเทศเรา

อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในไทย





3 ประเภท ของผ้า ที่ควรรู้

หลายคนอาจยังไม่รู้จักเนื้อผ้าที่ตัวเองสวมใส่ในแต่ละวันเลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผ้าอะไรเป็นอะไร หรือกำลังใส่เสื้อผ้าชนิดไหนอยู่ บางคนมองว่าก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญแต่อย่าลืมว่าก็ผ้าเหล่านี้นี่แหละที่จะใกล้ชิดกับผิวของเราได้มากที่สุด วันนี้เราจึงขอรวบรวมความรู้เรื่องผ้าที่ทั่วโลกให้การยอมรับระดับสากลมาฝากกัน ดังนี้

1.ผ้าถัก หรือผ้ายืด (Knitted fabrics)  
เชื่อว่ามีหลายคนยังไม่เข้าใจว่าผ้าถัก หรือผ้ายืด ทำไมถึงจัดว่าเป็นชนิดเดียวกันและสามารถนำไปใช้งานอะไรได้บ้าง นึกภาพตามง่ายๆ มันคือการถักเสื้อผ้าด้วยมือ หรือที่เรียกว่า Handmade นั่นเอง

การถักผ้า คือการทำให้มีลักษณะเป็นห่วงด้าย โดยอาศัยเข็มถักสอดขัดกันไปมาอย่างต่อเนื่อง

การถักแบบนี้คือการทำให้มีลักษณะเป็นห่วงด้าย โดยอาศัยเข็มถักสอดขัดกันไปมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการถักเส้นแบบแนวตั้ง (wales) เช่น ผ้าทรีคอต และผ้าลูกไม้ ส่วนการถักแบบเส้นที่อยู่ในแนวนอน (courses) เช่น ผ้าปีเก้ / ผ้าฟลีซ เป็นต้น

โครงสร้างผ้าถัก ทำให้ผ้ายืดหยุ่นกว่าผ้าทอ

ทำให้ผ้าที่ได้เกิดความยืดหยุ่นมากกว่าการทอผ้า แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้มือถักแล้ว ด้วยความที่ยุคสมัยเปลี่ยนจึงมีวิวัฒนาการที่ทันสมัยมาช่วยให้สะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นก็คือ เครื่องจักรถักผ้า นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในปัจจุบันนี้

ผ้าโพลีเอสเตอร์ คุณภาพ ราคาโรงงาน หลากหลายสี




2.ผ้าทอ (Woven fabrics) 
เป็นผ้าประเภทแรกๆ ที่มนุษย์เริ่มใช้เลยก็ว่าได้ เพราะจากการสันนิษฐานมนุษย์ยุคหินเริ่มใช้หนังสัตว์มาร้อยใส่เชือกแล้วผูกเอว ซึ่งคาดว่าเชือกน่าจะทำมาจากเส้นใยเปลือกไม้ชั้นใน เช่น พืชจำพวกสน ได้รับการยืนยันจากทีมวิจัยด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

การทอจะมีลักษณะส่วนประกอบ ดังนี้ เส้นด้ายยืน (Warp yarn) และเส้นด้ายพุ่ง (Weft yarn)

การทอจะมีลักษณะส่วนประกอบ ดังนี้ เส้นด้ายยืน (Warp yarn) และเส้นด้ายพุ่ง (Weft yarn) ผ้าทอแบ่งเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการทอ ไม่ค่อยมีรูปแบบตายตัวแล้วแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั่นๆ 

ยกตัวอย่างรูปแบบการทอผ้า เช่น Plain, Basket, Twill, Satin, Crepe, Dobby, Jacquard, Doublecloth, Pile, Slack-tension, Leno, และ Swivel

ยกตัวอย่างรูปแบบการทอผ้า เช่น Plain, Basket, Twill, Satin, Crepe, Dobby, Jacquard, Doublecloth, Pile, Slack-tension, Leno, และ Swivel

ผ้าทอธรรมชาติ




3. ผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือผ้านอนวูฟเวน (Non woven fabric) 
บางคนกำลังอ่านแบบขมวดคิ้ว เพราะสงสัยว่าผ้าจะออกมาเป็นหน้าตาแบบไหน ไม่ใช่ทั้งวิธีการถัก และก็ยังไม่ใช่การนำมาทออีกด้วย ตัวอย่างของผ้าชนิดนี้ก็คือ หน้ากากอนามัย ที่กำลังได้รับความนิยม ณ ปัจจุบัน แม้ว่าเราจะไม่อยากควักเงินในกระเป๋าซื้อมันมาเลยก็ตามแต่เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดี เลยกลายเป็นของที่ต้องมีทุกบ้าน

ตัวอย่างของผ้านอนวูฟเวนชนิดนี้ก็คือ หน้ากากอนามัย

แน่นอนว่า โครงสร้างของผ้าแบบนี้ทำได้แตกต่างที่สุดในวงการผ้าเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเลือกใช้เส้นใยแบบไหนมาผสมก็สามารถทำได้หมดเลย ซึ่งหากนำแผ่นผ้ามาส่องกล้องเพื่อขยายดูใกล้ๆ ก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจนเลยว่าลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นจากการสานไปมา โดยไม่มีการกำหนดทิศทางของเส้นใย เพื่อต้องการให้พันกันไปมา (mechanical entaglement) ซึ่งทำให้การออกแบบผ้าชนิดนี้มีความหลากหลาย และตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี
มีการกำหนดทิศทางของเส้นใย เพื่อต้องการให้พันกันไปมา (mechanical entaglement)



ไอเดียการนำ “ผ้า” ไปสร้างสรรค์ให้เกิดรายได้

ผ้ายืดหลากหลายรูปแบบ
ผ้าจงสถิตย์นำมาผลิตสินค้าได้หลากหลาย


ผ้า เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย และใกล้ตัวมากที่สุด โดยสังเกตจากสิ่งรอบตัวก็จะเห็นได้ว่ามากกว่า 80% เต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ล้วนแล้วแต่ทำมาจากผ้าเป็นส่วนใหญ่ เพราะผ้ามีประโยชน์มากมาย สามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบนับไม่ถ้วน แต่เราจะเห็นได้ง่ายๆ ที่คุ้นตามากที่สุด ก็คือเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ในทุกๆ วัน เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากผ้า ซึ่งมาจากกรรมวิธีทั้ง 3 ประเภท ข้างต้นนั่นเอง

ผู้เขียนบทความ : สาวิตรี ทิพย์เครือ (ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า)

เราใช้คุกกี้นี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ท่านสามารถเข้าดูเว็บไซต์ต่อได้โดยกดยอมรับการใช้คุกกี้ สามารถดู นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

×